วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รอบรู้เรื่องยางรถยนต์

 หน้าที่ของยางรถยนต์
               ยางรถยนต์มีหน้าที่ต้องรับน้ำหนักรถและสัมภาระต่าง ๆ ยางเป็นตัวกลางถ่ายทอดพลังงานขับเคลื่อน และการหยุดรถลงสู่พื้นผิวถนน ลดแรงกระแทกและสั่นสะเทือนจากพื้นถนน(เพิ่มความนิ่มนวลในการโดยสาร) ทำให้รถเลี้ยวเปลี่ยนทิศทางได้ตามความต้องการ ยางรถยนต์เป็นเพียงส่วนเดียวของรถยนต์ที่สัมผัสพื้นถนนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการป้องกันอุบัติเหตุ

ควรจะเปลี่ยนยางรถยนตร์เมื่อไหร่?
               เมื่อยางของคุณเริ่มเข้าข่ายสัญญานเตือน เหล่านี้ก็ควรต้องเริ่มมองหาศูนย์บริการยางรถยนต์คุณภาพ ใกล้ๆบ้านเพื่อเปลี่ยนยางครับ
               1.เปลี่ยนเมื่อยางเริ่มแข็งตัว จะรู้ได้อย่างไรว่ายางเริ่มแข็ง เวลาวิ่งยางจะเสียงดังครับ หรือลองเอาเล็บจิกลงไปบนเนื้อยางก็ได้เหมือนกัน
               2.เปลี่ยนเมื่อดอกยางเริ่มไม่มีลายดอกยางมองให้เห็นแล้วครับ วิธีสังเกตดูก็คือ ให้สังเกตุในร่องของดอกยางครับ มันจะมีขีดเล็กๆ อยู่ ถ้าดอกยางเรียบเสมอกับขีดเมื่อไหร่ ก็ได้เวลาเปลี่ยนยางในครั้งต่อไปแล้วครับ
               3.หากขับไปแล้วกระแทกหลุมอย่างแรง แล้วแก้มยางเกิดบวมปูดขึ้นมา แนะนำให้เปลี่ยนทันทีครับ
               4.หมั่นสลับยางทุกหมื่นโลนะครับ (แต่ถ้าสภาพยางยังดีอยู่ก็สามารถใช้ได้ต่อไปครับ)

การดูแลรักษายางรถยนต์
               1. ตรวจความดันลมยาง การเติมลมยางอ่อนกว่ามาตรฐานทำให้อายุยางสั้นลง บริเวณไหล่ยางจะเกิดความร้อนสูง และสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ซึ่งอาจทำให้เนื้อยางไหม้ และโครงสร้างยางแยกตัวออกจากกัน อันนำไปสู่การบวมล่อน และระเบิดของยาง นอกจากนี้อาจทำให้โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาดหรือหักได้ และยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันอีกด้วย ส่วนการเติมลมยางมากเกินไปไม่เป็นผลดีเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่สัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนน ลดลง อาจทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย และโครงยางอาจ ระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำ เนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อยอายุยางก็จะลดน้อย ลง
               2.ดอกยางรถยนต์ เนื่องจากดอกยางมักจะสึกที่บริเวณตอนกลางของล้อมากกว่าส่วนอื่น และทำให้ความนิ่มในขณะขับขี่ลดลง และยิ่งบรรทุกของน้ำหนักมากเกินไปจะทำให้มีการบิดตัวบริเวณหน้ายางที่สัมผัสพื้นผิวถนนมาก ทำให้เกิดความร้อนได้ง่าย ส่งผลให้มีการสึกหรอของเนื้อยางเร็ว อายุการใช้งานของยางก็จะสั้นลง ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง จะมีแรงเสียดทานและความร้อนที่เกิดขึ้นตามมาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อความต้านทานต่อการสึกหรอ ทำให้อายุของยางลดลงตามไปด้วยการเบรกและการออกตัว ในขณะที่รถยนต์วิ่งอยู่บนถนนจะเกิดแรงเฉื่อย ซึ่งมีค่าสูงกว่า ความเร็ว ดังนั้น เมื่อเบรกจนล้อหยุดหมุนแล้ว แรงเฉื่อยของตัวรถจะดันให้ล้อลื่นไถลไปกับพื้นถนน ทำให้ยางเกิดการสึกหรอ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะในการเบรกเป็นสำคัญ ส่วนการออกตัวอย่างรุนแรง ทำให้ล้อหมุนฟรี หน้ายางจะเสียดสีกับพื้นถนนอย่างหนัก ทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้นสภาพ รถยนต์ เช่น ช่วงล่างและศูนย์ล้อ มีผลอย่างมากกับการสึกหรอ ที่รวดเร็ว หากระบบศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเปกของรถ จะทำให้เกิดแรงเสียดทานและลื่นไถลที่หน้ายางมากกว่าปรกติสภาพ ผิวถนน ผิวถนนยิ่งราบเรียบมาก ยางก็จะยิ่งสึกหรอช้า ใช้งานได้นานกว่าการขับรถบนถนนที่ขรุขระ เพราะความต้านทานต่อการหมุนบนถนนเรียบมีน้อยกว่า ยางจึงเสียดสีกับผิวถนนเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยแรง ที่น้อยกว่า นอกจากนี้ลักษณะเส้นทางก็มีผลเช่นกัน การขับขี่บนทางตรงจะเกิดการสึกหรอช้ากว่าการขับขึ้นเขา หรือขับบนถนนที่คดเคี้ยวสภาพอากาศ ยางรถยนต์มีส่วนผสมหลักเป็นยางธรรมชาติ จึงทนต่ออุณหภูมิสูงได้น้อยกว่ายางสังเคราะห์ ดังนั้น หากยางเกิดความร้อนมากขึ้นจากการใช้งาน ก็จะยิ่งส่งผลต่อการสึกหรอที่รวดเร็ว
                3.หมั่นตรวจสอบช่วงล่างตามระยะ ถ้ามีอะไหล่ช่วงล่างหลวมหรือเสียก็จะทำให้ยางสึกหรอเร็วอย่างผิดปกติได้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น